27 พ.ค. 2555


การจัดการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม I love Library

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง (Developer)

โปรแกรม I Love Library ส่วนที่ใช้ในการสร้าง (Developer) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
  1. Personal Edition สำหรับการใช้งานของบุคคลโดยทั่วไป ที่ไม่ได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจ
  2. Commercial Edition สำหรับ การใช้งานในองค์กร หน่วยงาน และบริษัท สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจได้ แต่สื่อ อิเล็คทรอนิคส์ที่สร้างได้ จะไม่มีการ Lock ผู้อ่านสามารถนำไป Copy ให้ใช้แพร่หลายได้
  3. Network Edition สำหรับ การใช้งานแบบเครือข่ายในองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัท เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะของห้องสมุด คือ มีการติดตั้งบนระบบ Intranet หรือ Internet ขององค์กรเพื่อให้มีการกระจายของสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่สร้างไว้ภายในหน่วย งาน หรืออาจจะนำไปใช้ในลักษระของการจัดเก็บเอกสารการประชุม คู่มือ ระเบียบ รวมไปถึงการต่อเชื่อมกับระบบ Knowledge Management
  4. Publisher Edition สำหรับ การนำไปใช้งานของผู้ประกอบการสำนักพิมพ์หรือสำหรับนักเขียนที่ต้องการสร้าง สื่อ อิเล็กทรอนิคส์ไปเพื่อจำหน่าย สื่อที่สร้างขึ้นมาระบบของ I love Library จะทำการสร้างระบบ Lock เพื่อป้องกันการ copy โดยเจ้าของหนังสือหรือสื่อที่สร้างขึ้นสามารถกำหนดสิทธิอนุญาตให้ผู้ซื้อ สามารถที่จะติดตั้งหนังสือสื่อที่ซื้อไปได้ใหม่กี่ครั้ง

โปรแกรมที่ใช้ในการอ่าน (Viewer)

เมื่อผู้ใช้งานต้องการที่จะอ่านหรือเปิดสื่ออิเล็คทรอนิคส์ที่สร้างขึ้น สามารถเปิดอ่านได้โดยโปรแกรม Viewer ซึ่งสามารถ Download จาก www.IloveLibrary.com ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โปรแกรมจะแบ่งการเก็บตามประเภท หนังสือ แม็กกาซีน อัลบั้มภาพ และ Catalog และในแต่ละประเภทผู้ใช้งานสามารถกำหนดกลุ่มในแต่ละประเภทได้อีก

วิธีการนำหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิคส์ไปเผยแพร่

ภายหลังจากที่สร้างสื่ออิเล็กทรอนิคส์เสร็จแล้ว ผู้สร้างสามารถนำไปเผยแพร่ได้โดย ให้ Upload ที่สร้างไปเก็บไว้ที่ www.IloveLibrary.com โดยผู้สร้างจะต้องเลือกว่าจะให้สื่อที่ต้องการเผยแพร่อยู่ในส่วนของ Library หรือ Book Mart ซึ่งความแตกต่างของทั้ง 2 ส่วนก็คือ
  1. Library เป็นส่วนของสื่อที่ต้องการแจกหรือเผยแพร่ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือเงื่อนไขใดๆ
  2. Book Mart เป็นส่วนของสื่อที่มีขั้นตอนการเรียกเก็บเงินจากผู้อ่าน ซึ่งโปรแกรมจะสร้างระบบการ Copy ให้โดยอัตโนมัติ แต่ผู้ที่จะนำเอาสื่อของตนมาเก็บไว้ ในส่วนของ Book Mart ได้จะต้องเป็นผู้ที่สร้างสื่อด้วยโปรแกรม I love Library ที่เป็น Publisher Edition เท่านั้น

ความต้องการด้านระบบขั้นพื้นฐาน

  • Windows® 2000/XP/Vista
  • IBM® PC compatible, Pentium® IV
  • 512 MB RAM
  • 100 MB free hard disk space
  • 24-bit color display adaptor
  • 1024×768 pixels screen area

ความต้องการด้านระบบที่แนะนำ

  • Windows® 2000/XP/Vista
  • IBM® PC compatible, Pentium® IV หรือมากกว่า
  • GB RAM
  • 200 MB free hard disk space
  • 24-bit color display adaptor
  • 1024×768 pixels screen area

รายละเอียดโปรแกรม I Love Library Builder for PC

  1. มีฟังก์ชันช่วยในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ eBook Wizard
  2. สามารถสร้างได้จากไฟล์รูปภาพ ประเภท Image เช่น JPGGIF , PNG , BMP , TIFและ PDF File รวมถึง จากการสแกนเอกสารเข้าระบบโดยตรง (TWAIN)
  3. สามารถแทรกไฟล์ภาพนิ่ง หรือ Multimedia file และเสียงในสื่อหนังสือหรืออัลบัมได้ (AVI , MPEG , MP3, WAV , SWF , WMV , WMA)
  4. สามารถสร้างสารบัญ และกำหนดให้พลิกหน้าไปยังหน้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเปิดทีละแผ่น รวมถึงสร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ
  5. สามารถกำหนดการตัดขอบหน้าเอกสารได้ทั้ง 4 ด้าน (Cropping)
  6. สามารถสร้างหรือเลือกปกและสันปกหนังสือได้ มี Template ปก และ สันหนังสือให้เลือก
  7. สามารถเพิ่มหน้า แทรกหน้าหรือลบหน้าได้
  8. สามารถกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้ขยาย (Zoom) และกำหนดหลายๆตำแหน่งในหนึ่งหน้าและสามารถกำหนดตำแหน่งที่ต้องการขยายได้ต่อเนื่องอัตโนมัติได้
  9. รองรับการสร้าง eBook eCatalog eAlbum eMagazine และ eNewspaper ได้
  10. มีระบบบีบอัดไฟล์ที่นำเข้าระบบให้มีขนาดเล็กลงได้
  11. สำหรับไฟล์ที่ Upload ไปยังเว็บ iloveLibrary.com จะมีการลบไฟล์หนังสือที่ไม่มีการ download ออกจากระบบได้ ตามจำนวนวันที่กำหนด หรือตามที่บริษัทเห็นเหมาะสม
  12. มีระบบหนังสือส่วนบุคคล (Private book) ส่งไฟล์หนังสือให้เฉพาะกลุ่มเพื่อนที่กำหนด
  13. มีฟังก์ชั่นพิเศษในการสกัดคำ (Text) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ File ที่ได้มาเป็นแบบ PDF ที่สร้างจาก Text ไฟล์ ทำให้สามารถค้นหาคำในเอกสารที่ต้องการได้แบบ Full Text Search ทำให้ค้นหาได้รวดเร็ว และสามารถค้นหาคำได้ในหน้าเนื้อหาของสื่อเอกสาร (ความเร็วในการสกัดคำขึ้นกับความสามารถของเครื่องและจำนวนตัวอักษร และ ไม่สามารถใช้งานกับเอกสารที่สร้างจากไฟล์ภาพหรือการสแกน)
หมายเหตุ เมื่อคุณติดตั้งโปรแกรม จะมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แนะนำการใช้งานโปรแกรม I Love Library Builder ไปพร้อมกับโปรแกรม นอกจากนี้ ยังสามารถ download ไฟล์คู่มือในรูปแบบ PDF ได้ด้วย อ่านรายละเอียดที่หน้าแรกของเว็บไซต์

รายละเอียดโปรแกรม I Love Library Viewer for PC

  1. มีรูปแบบการแสดงหนังสือในชั้นหนังสือของคุณได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบแสดงสันปก , แสดงเต็มปก หรือแสดงเฉพาะชื่อเรื่อง เพื่อความสะดวกในการเปิดอ่านหนังสือ
  2. สามารถดูหนังสือแบบ Thumbnail แบบ 1, 4 ,9 , 16 หน้าต่อหนึ่งหน้า สามารถเปิดพลิกหน้าได้เหมือนกับการพลิกหน้าในหนังสือจริง มีการลิงค์สารบัญเพื่อความสะดวกในการเปิดอ่าน หรือ ไปยังหน้าที่ต้องการโดยการระบุเลขหน้า
  3. สามารถเลือกฟังก์ชั่นในการขยายในการอ่านหนังสือได้หลายรูปแบบ ทั้งการเลือกการขยายอ่าน
แบบคอลัมน์ สามารถขยายแบบหน้าเต็มแผ่นต่อหน้า และแบบแว่นขยายเพื่อขยายอ่านในเฉพาะจุดที่ต้องการ
  1. มีฟังก์ชั่น Bookmark ที่ช่วยในการคั่นหน้าหนังสือ เพื่อสะดวกในการกลับมาอ่านใหม่
  2. ผู้ใช้สามารถอัดเสียง หรือ เขียนข้อความ ระบายสี ในหน้าของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละหน้าได้
  3. กำหนดเวลาในการเปิดอ่านแบบอัตโนมัติได้ (Auto Flip)
  4. มีฟังก์ชั่นการค้นหาหนังสือจาก keyword ของคำที่ต้องการในเอกสาร และสามารถค้นหาคำได้
ในหน้าเนื้อหาของสื่อเอกสารได้
หมายเหตุ เมื่อคุณติดตั้งโปรแกรม จะมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แนะนำการใช้งานโปรแกรม I Love Library Viewer ไปพร้อมกับโปรแกรม นอกจากนี้ ยังสามารถ download ไฟล์คู่มือในรูปแบบ PDF ได้ด้วย อ่านรายละเอียดที่หน้าแรกของเว็บไซต์

ที่มา: http://www.ilovelibrary.com/
ULibM
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULIBM (Union Library Management) เป็นระบบที่เกิด บูรณาการจากประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่าสิบปี ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ งานห้องสมุดตลอดจนผู้พัฒนาได้ทำงานกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติขนาดใหญ่ระดับมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบ INNOPAC, VTLS, HORIZON ฯลฯ อีกทั้ง ระบบสหบรรณานุกรม (Union Catalog) ในประเทศไทยและญี่ปุ่น ทำให้ผู้พัฒนานำความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์มาพัฒนาระบบสำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้ได้ มาตรฐานสากลในการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้แหล่งสารสนเทศ หรือห้องสมุดมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ได้มาตรฐานใช้งาน และสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับระบบห้องสมุดอื่นได้ในอนาคต ซึ่งผู้พัฒนาระบบได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่จะ เลือกใช้โปรแกรมสามารถไว้วางใจในการพัฒนาและดูและระบบต่อไปในอนาคต

ULIBM เป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ ใช้ได้เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตและผ่านการฝึกอบรมแล้วเท่านั้น (กรุณาเก็บหลักฐานการได้รับอนุญาตการใช้งานและหลักฐานผ่านการอบรมไว้ด้วย ถ้ามีการตรวจสอบจะได้อ้างอิงได้ทันที)

ULibM เป็นโปรแกรมฟรี แต่ไม่ใช่ Open Source โดยจะอนุญาตให้ผู้สนใจ หรือหน่วยงานที่ต้องการนำไปใช้ได้ฟรี แต่ต้องผ่านการอบรมการใช้โปรแกรมก่อน โดยหลังจากนำโปรแกรมไปใช้แล้ว หากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมไว้ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ท แนะนำให้ ทำการลงทะเบียนโปรแกรม เพื่อที่จะใช้บริการออนไลน์อื่น ๆ แต่ถ้าหากเซิร์ฟเวอร์ของท่านไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ท ก็ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่อย่างใด

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม ULibM

1. ทำงานได้ทั้งบน Windows และ Linux
2. การติดตั้งง่าย และทำไ้ด้เอง
3. โปรแกรมมีการพัฒนาต่อเนื่อง
4. ทำงานบนหน้าเว็บทั้งหมด (Web-based software)
5. รองรับการสืบค้นและการ catalog ผ่าน z39.50
6. รองรับมาตรฐานมาร์ค เต็มรูปแบบ ทั้งนำเข้า แค็ตตาล็อก และส่งออก (MARC:ISO2709)
7. ไม่มีการจำกัดจำนวน Bib/Item/Member ไม่มีค่าบริการแอบแฝงใด ๆ ทั้งสิ้น
8. สามารถใช้เป็นหน้าจอเว็บไซต์ห้องสมุดได้ / บางหน่วยงานขอใช้โปรแกรม ULibM เพื่อทำหน้าจอเว็บไซต์เท่านั้น
9. สนับสนุน SIP2 Protocol (Standard Interchange Protocol V.2) และทดสอบกับอุปกรณ์ RFID โดยบริษัท wiserf special thanks to (Mr. Gabriel,Khun Rapeeporn and Staff @wiserf.com)
10. ผ่านทดสอบระบบ RFID กับอุปกรณ์บริษัท PenNueng Holding Co.,Ltd. แล้ว
11. มีระบบสมาชิกล็อกอินออนไลน์ตรวจสอบสถานะหนังสือค้างส่ง คอมเมนท์หนังสือ
12. มีระบบสร้างและพิมพ์บาร์โค้ดได้ในตัว + พิมพ์บัตรสมาชิกได้
13. ถ่ายภาพสมาชิกและทรัพยากรผ่านกล้อง WebCamera
14. หน้าจอการสืบค้นแบบใหม่ (และแบบเก่าให้เลือกใช้)
15. ระบบสถิติแบบละเอียด
16. ระบบการจัดการทรัพยากร และ Createlist เพื่อรายงานที่จำเพาะเจาะจง
17. มี UserGroup และการอบรมเป็นระยะ เพื่อติดตามความคืบหน้าโปรแกรม
18. การสมัครสมาชิกห้องสมุดออนไลน์
19. การให้คะแนนวัสดุสารสนเทศ (Rating)
20. การให้แท็กแก่วัสดุสารสนเทศโดยผู้ใช้ (Tagging)
21. บทความหน้าเว็บแบบ Wiki
22. ระบบปฏิทินหน้าเว็บไซต์
23. การรับ Feed RSS แบบรูปภาพและ Slide Show
24. อัพเกรดโปรแกรมด้วยตัวเองได้
25. มีระบบห้องสมุดสาขา สำหรับใช้กับห้องสมุดที่มีสาขาย่อย กำหนดสิทธิ์การแก้ไข Bib/member ระหว่างสาขาห้องสมุดได้

ลักษณะเด่นของโปรแกรม

1. มีการอัพเกรดเสมอ เพราะผู้พัฒนาทำงานเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยตรง ทำให้เห็นแนวโน้มของการพัฒนาโปรแกรมในอนาคต และเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้กับห้องสมุด
2. ได้มาตรฐาน สามารถทำงานร่วมกับห้องสมุดมาตรฐานระดับสากล เพราะจัดเก็บฐานข้อมูลวัสดุสารสนเทศโดยใช้มาตรฐาน MARC สามารถโอนถ่ายข้อมูลกับระบบห้องสมุดมาตรฐานได้ทั่วประเทศและทั่วโลก
3. รับฟังความคิดเห็น หลายฟังก์ชันและโมดูล สร้างขึ้นมาจากความคิดเห็นและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานจริง และยังรับฟังความต้องการ เพื่อปรับปรุงสิ่งใหม่ ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้จริงเสมอ
4. มี User Group รับฟัง พัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสามารถติดตามข่าวการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง
5. ฟรี นอกจากเป็นโปรแกรมฟรีแล้ว ยังสามารถทำงานโดยเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นของฟรี (ทั้ง OSS และระบบฐานข้อมูล เป็นของฟรี ไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่ม)
6. ออนไลน์ เป็นโปรแกรมที่ทำงานแบบ Client-Server แบบ web-based ที่มีการรักษาความปลอดภัย

ระบบการทำงาน

1. โปรแกรม ULibM นั้น ทำงานแบบ Client - Server ทำงานแบบ Web-based ซึ่งมีหลักการทำงานแบบเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ที่จุดเดียว (ที่เซิร์ฟเวอร์) และผู้ปฏิบัติงานเข้าปฏิบัติงานผ่านเน็ทเวิร์ค (ผ่านหน้าจอเว็บเบราเซอร์) ทำให้บุคลากรหลายคนปฏิบัติงานพร้อมกันได้ โดยไม่จำกัดจำนวนบุคลากร
2. โปรแกรม ULibM พัฒนาด้วยภาษา PHP ทำให้สามารถทำงานได้ทุกระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้
3. ในเวอร์ชันปัจจุบัน (5.4) ใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูลเป็น MySQL ซึ่งสามารถทำงานกับทุกระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกัน
4. โปรแกรม ULibM สามารถติดตั้งได้กับทั้งระบบปฏิบัติการที่เป็นวินโดวส์และตระกูล UNIX เช่น Fedora, RedHat ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่รองรับนั้น จะสามารถหามาได้ฟรีและไม่มีปัญหาลิขสิทธิ์

การติดตั้ง
การติดตั้งจะต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เตรียมเซิร์ฟเวอร์
2. ติดตั้งโปรแกรม
3. ตรวจสอบหลังการติดตั้ง
4. เจ้าหน้าที่สุงสุดต้องกำหนดค่า
5. เจ้าหน้าที่ห้องสมุดต้องกำหนดค่า
6. โครงสร้างของโปรแกรม

ส่วนของโปรแกรม
แบ่งออกเป็นส่วนหลัก ๆ 3 ส่วน คือ
1. เจ้าหน้าที่สูงสุด
2. บรรณารักษ์
3. ผู้เข้าใช้บริการทางหน้าเว็บไซต์

ที่มา : http://www.ulibm.net

31 ส.ค. 2553

โอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด

การประชุมวิชาการ เรื่อง "เครือข่ายความร่วมมือโอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด" วันที่ 26-27 สิงหาคม 2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยนาลัย
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายที่ใช้โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์ (OSS) ในการประยุกต์ใช้จัดการคลังความรู้ต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ และเอกชน ต่างก็ให้ความสนใจโอเพ่นซอร์สมากขึ้น

เรามาดูกันว่า โอเพ่นซอร์สทำอะไรได้บ้าง

1. ABDUL
HLT Lab ได้ทดลองสร้างระบบบริการภาษาแบบใหม่ผ่านทาง MSN โดยใช้ชื่อว่า “ABDUL” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาซึ่งเป็นผลงานของทาง HLT และหน่วยงานภายในเนคเทค เช่น พจนานุกรม แปลภาษา สืบค้นข้อมูล และบริการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้งาน ABDUL นั้น จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีให้ตรงตามความต้องการมากที่สุดต่อไปส่วนคำว่า “ABDUL” นั้น ก็มานิยามของคำพูดที่ติดหูคนทั่วไปว่า “ABDUL” ถามได้ตอบได้ สามารถช่วยตอบคำถามที่ผู้ถามอยากรู้คำตอบแบบโต้ตอบกันทันที จึงได้เรียกชื่อระบบบริการภาษาใหม่ผ่านทาง MSN นี้ว่า “ABDULhttp://www.thailibrary.in.th/2010/08/30/abdul/

2. ห้องสมุดไร้หนังสือเล่ม… กำลังจะมา
แนวโน้มของห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากยังมองไม่ไกลมากนักน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสี่ด้านในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ น่าจะเป็นที่ใฝ่หาของผู้ใช้ห้องสมุด และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักด้วยว่า ทำไมจึงยังต้องมีห้องสมุดอยู่ในสถาบันต่างๆ เพื่อบริการในสิ่งที่เหนือกว่าการเข้าร้านหนังสือ หรือการทำงานกันอยู่ที่หน้าจออินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แนวทางที่นำเสนอ ตั้งใจจะสื่อกับบรรณารักษ์ทั้งหลายในประเทศไทยว่า งานของห้องสมุดมีความสำคัญ หากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดี ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ และน่าจะได้งบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่อไป แนวโน้มสี่ด้านที่นำเสนอ คือ
1. เรื่องการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ
2. บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด
3. บริการด้านเอกสารและบริการถ่ายเอกสาร โดยการส่งทางอีเมล
4. บริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Digital Archive

3. Drupal + Bibliography + OAI2 ทางเลือกการพัฒนา IR แทน DSpace
กระแสการพัฒนาคลังเอกสารสถาบัน (Institutional Repository) โดย DSpace มาแรงมากในประเทศไทย แต่จากการศึกษามาระยะหนึ่งพบว่า DSpace แม้นจะเป็นโปรแกรมที่ได้ัรับการตอบรับในเรื่อง IR ด้วยเหตุผลหลากหลายต่างๆ ก็ตาม กลับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการใช้งาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความซับซ้อนของโปรแกรม การติดตั้งที่ยุ่งยาก ความต้องการใช้โปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้ลองศึกษาเครื่องมืออื่นๆ ในกลุ่ม Open Source Software เพื่อสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ในการพัฒนา IR ทั้งในมิติของการใช้งาน และการเรียนการสอน โดยยังอยู่ภายใต้แนวคิด Open Access, Dublin Core Metadata, OAI-PMH, Long-term Presevation และ Open Source ในที่สุดก็พบว่าโปรแกรมจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS: Content Management System) ที่สุดดังในยุคนี้ คือ Drupal ที่ประสานพลังด้วย Extension อย่าง Bibliograph & OAI2 เป็นเครื่องมือทางเลือกแทน DSpace ได้เป็นอย่างดี

Drupal เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี PHP + MySQL ทำให้สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการใช้งาน และการเรียนการสอนได้ง่าย สถาบันการศึกษาใด สนใจจะจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Metadata หรือ Open Access หรือ Institutional Repository หรือ Information Storage & Retrieval อย่างเป็นรูปธรรม สามารถติดต่อ STKS เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ Drupal + Bibliography + OAI2 ได้ http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/drupal-dspace-ir/

4. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย Vaja 6.0
เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างเสียงคำพูดใดๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในการใช้งานส่วนใหญ่จะต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา (Language Processing Technology) ทำให้ได้ เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ (Text-to-Speech Synthesis: TTS) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อความภาษาไทยเพื่อหาวิธีอ่านข้อความแล้วแปลง ข้อความจากตัวหนังสือภาษาไทยให้เป็น เสียงพูดภาษาไทย
ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูง (VAJA) สามารถสังเคราะห์เสียงพูด ภาษาไทยได้ ทุกคำ เนื่องจากมีส่วนวิเคราะห์คำอ่านที่สามารถวิเคราะห์ได้แม้แต่คำที่ไม่เคย ปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มคำเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล พร้อมทั้งกำหนด คำอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็น ซอฟต์แวร์ไลบรารี่ที่สะดวกสำหรับผู้นำไปพัฒนาต่อ

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด ได้แก่
1.สามารถนำเทคโนโลยี สังเคราะห์เสียงพูด มาแปลง ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณ มากและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การส่งข่าวสารผ่าน Voice Message การรายงานข่าวการวิเคราะห์หุ้นมาเป็นเสียงพูดเพื่อให้ผู้รับข่าวสารได้รับ ข่าวที่ทันสมัยอยู่ ตลอดเวลา
2.สามารถเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครือ ข่ายพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น เครือข่ายโทรศัพท์บ้านโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเผยแพร่ทางเสียง เป็นวิธีการพื้นฐาน ที่เข้าถึงได้ ทุกเครือข่าย โดยไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม
3.ผู้รับข่าวสารสามารถรับข่าวสาร โดยไม่ต้องละจากกิจกรรม ที่ทำอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้รับอยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย ได้ เช่น ขณะขับขี่รถยนต์
4.สามารถประยุกต์ใช้กับ อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่น ผู้ใช้บริการ สามารถส่งข้อมูล โดยโทรสาร ในขณะที่ผู้รับปลายทางสามารถรับฟังข้อความบนเอกสารโดยโทรศัพท์ทั่วไป
5.การเพิ่มโอกาสให้คนพิการ เช่น โปรแกรมอ่านข้อมูลเพื่อคนตาบอด หรืออุปกรณ์ช่วยพูด แทนคนใบ้
http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/vaja-6-0/#more-43
และมีอื่นๆ อีกมากมายที่โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์สามารถทำได้ ท่านใดสนใจเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ STKS และเว็บไซท์กลางการจัดการห้องสมุด ThaiLibrary ค่ะ

*** ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดีๆ คำว่า เว็บไซต์ ในบทความนี้ ได้ถูกเขียนเป็น เว็บไซท์ ไม่ได้เขียนผิดนะคะ แต่ขณะนี้ ได้เปลี่ยนให้ ไซต์ เขียนเป็น ไซท์ แบบนี้ค่ะ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการค่ะ

ลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ กันนะคะ

16 ส.ค. 2553

WUNCA ครั้งที่ 22

เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผมและคณะได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 การเดินทางครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี
2. อาจารย์อภิรัตน์ วงศ์ศุภชาติ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
3. อาจารย์อัตภาพ มณีเติม รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
4. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์งานสารสนเทศพิเศษ
5. นายวิกรม์ นวมงาม ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
6. นายธีรยุทธ ทั่งทอง ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด

งาน WUNCA ครั้งนี้มีการกล่าวรายงานความคืบหน้าจากการดำเนินงานของ UNINET ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในการเชื่อมต่อเครือข่ายกับ NIA, KoRen และมีการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง UniNet, สมาคม ThaiREN และ NIA, KoRen นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น
1. การพัฒนา Mobile Internet and ITS Application In Online Map
2. การพัฒนาเทคโนโลยี RFID จากแผ่นวงจรขนาดใหญ่มาสู่ขนาดเล็กลงคล้ายแถบแม่เหล็กที่ซ่อนในทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ได้ เพื่อป้องกันการทำลายหรือการชำรุดของแผ่นวงจร RFID
3. การพัฒนา Domain Name ที่เป็นภาษาไทย ซึ่งขณะนี้คณะทำงานได้มีการศึกษานามสกุลของโดเมนเนมภาษาไทยว่าควรใช้คำอะไรบ้าง และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

25 ก.พ. 2553

มาตรฐานสื่อดิจิทัล

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อบริการยุคสังคมฐานความรู้" เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 53 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรายละเอียดดังนี้
สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์
สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้
วิวัฒนาการ การพัฒนาการเขียนในยุคต่างๆ ในอดีตทำให้เกิดการเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสู่การใช้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นสถิติที่สูง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนดมาตรฐานสื่อดิจิทัลขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สูงสุด

การจัดการสื่อดิจิทัล
1. มีการถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
2. ให้เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
3. มีมาตรฐานเพื่อการนำมาใช้ใหม่ได้หลายๆครั้ง
4. มีการไหลเวียนผ่านกระบวนการที่สร้างคุณค่า

ปัญหา e-book Online
1. ความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์
2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
3. การจัดระบบของข้อมูล
4. มาตรฐานเนื้อหา
5. คุณภาพของข้อมูล

จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องจัดระบบมาตรฐานสื่อดิจิทัลก่อนนำเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งมีความสำคัญและสามารถกำหนดอนาคตของสังคม

ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมา มักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อมากกว่าการพิจารณามาตรฐานในการนำสื่อไปใช้งาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลาย รวมถึงปัญหาในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล จึงต้องมีข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้นดังนี้
1. การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร เช่น ชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อแฟ้มเอกสา ร ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษและอาจใช้ตัวเลขร่วมด้วยก็ได้ ควรตั้งชื่อเอกสารให้สื่อความหมายกับเนื้อหาของเอกสารด้วย
2. ข้อกำหนดภาพดิจิทัล เช่น กล้องดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ควรตั้งวันที่และเวลาโดยอ้างอิงที่เว็บไซต์ http://www.nimt.or.th/ ความละเอียดของภาพน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 300 dpi ขึ้นไป ขนาดภาพไม่ควรกำหนดไว้ต่ำกว่า1024x768 พิกเซล คุณลักษณะเฉพาะภาพ และกำหนดรายละเอียดของภาพ IPTC Metadata โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการภาพ เช่น ACDSee, Xnview, และ Photoshop
3. ข้อกำหนดเอกสารเว็บ เช่น กำหนดชุดของตัวอักษร การระบุแบบอักษร การนำภาพมาประกอบ
4. ข้อกำหนดเอกสารงานพิมพ์ เช่น หน่วยงานควรกำหนดแบบอักษรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้เป็นชุดเดียวกัน การเลือกใช้แบบอักษร รูปแบบการสร้างงาน และควรฝังข้อมูล Metadata ลงไปในแฟ้มเอกสารทุก ๆ แฟ้มด้วย โดยไปที่เมนู File --> Properties
5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
6. ข้อกำหนดสื่อนำเสนอ เช่น หน่วยงานควรกำหนดรูปแบบในการนำเสนอชุดงานหนึ่งๆ เป็นแนวทางเดียวกัน
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ” โดย บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ หรือที่ http://stks.or.th/ หรือติดตามได้จาก http://pbruaritkm.blogspot.com/

ผู้ร่วมประชุม
1. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
2. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์