11 ส.ค. 2552

กำเนิดใหม่ของหนังสือเก่า : เปิดตัวเว็บไซต์ “หนังสือเก่าชาวสยาม”

จากการสัมมนาเรื่อง กำเนิดใหม่ของหนังสือเก่า : เปิดตัวเว็บไซต์ “หนังสือเก่าชาวสยาม” วันที่ 9 มิ.ย. 2552 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
หนังสือเก่าชาวสยาม เป็นโครงการนำร่อง เพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยต่ออายุหนังสือและเอกสารเก่าของประเทศไทย โดยจะคัดเลือกหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์โบราณที่มีคุณค่า พ้นลิขสิทธิ์แล้ว แต่หาอ่านได้ยาก มานำเสนอในรูปแบบที่อ่านง่าย ค้นง่าย ใช้สะดวก สำหรับบริการนักค้นคว้า และผู้สนใจทั่วไป เริ่มหารือเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ และจะเริ่มเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกในเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ โดยนำเสนอหนังสือวชิรญาณ เป็นชุดปฐมฤกษ์
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ซึ่งเป็นองค์การมหาชนในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่มีหน่วยงานและนักวิชาการหลายท่าน อนุเคราะห์ต้นฉบับหนังสือเก่า ให้คำปรึกษาในการคัดเลือก ให้คำอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้ทราบเรื่องราวและความสำคัญของหนังสือหรือเอกสารแต่ละเรื่อง และให้ความคิดเห็นในการนำเสนอ ผู้ร่วมงานได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ฯลฯ
วชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัล คือผลงานชิ้นแรกของโครงการ เพื่อการอนุรักษ์เอกสารเก่าที่มีความสำคัญ มีอายุเกิน 50 ปี และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี และชาติพันธุ์ ปัจจุบันต้นฉบับวชิรญาณวิเศษฉบับพิมพ์และฉบับไมโครฟิล์ม เก็บรักษาอยู่ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร
การจัดทำวารสารวชิรญาณวิเศษในรูปดิจิทัลได้รับความร่วมมือจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ อนุเคราะห์เอกสารให้จัดทำและเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อให้นักวิชาการและสาธารณชนสามารถเข้าถึงและอ่านรายละเอียดได้สะดวก และเพื่ออนุรักษ์เอกสารต้นฉบับซึ่งสภาพไม่เอื้ออำนวยให้จับต้องและเสี่ยงต่อการเสื่อมสลาย ทั้งนี้ วารสารวชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัล จัดทำขึ้นเพื่อให้มีเอกสารฉบับสำรอง เพื่อทดแทนกรณีเอกสารต้นฉบับสูญหายหรือเสื่อมสลาย ไม่สามารถใช้เพื่อบริการอ่านได้ตามปกติ วารสารวชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัล จัดทำสำเนา ชุด และจัดเก็บที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ และที่สามารถทำสำเนาโดยการพิมพ์หรือดาวน์โหลดเพื่อการใช้งานวิชาการได้จากเอกสารที่เผยแพร่ในรูปดิจิทัลจากเว็บไซต์
http://www.siamrarebooks.com

ลิขสิทธิ์ของวารสารวชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัล ย่อมเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม การจัดทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัย ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ ผู้จัดทำวารสารวชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัลไม่มีเจตนาที่จะให้มีการทำสำเนาวารสารในรูปดิจิทัลทั้งหมดหรือทำซ้ำทุกฉบับ แม้ว่าจผู้จัดทำจะมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ เนื้อหาโดยละเอียดอย่างครบสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการทำสำเนาวารสารทั้งหมด สมควรให้ดำเนินการขอและต้องได้รับอนุญาตจากผู้จัดทำต้นฉบับวารสารวชิรญาณวิเศษฉบับดิจิทัลอย่างเป็นทางการก่อน เพื่อยอมรับกติกาและคุณสมบัติทางเทคนิคที่กำหนดอย่างเหมาะสมสำหรับการจัดทำสำเนาหรือทำซ้ำ


ประโยชน์ที่ได้รับในการปฏิบัติงาน
1. เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการ
2. สามารถวิเคราะห์คุณค่าของหนังสือเก่าหรือเอกสารเก่าที่ยังประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านต่าง ๆได้
3. สร้างเครือข่ายการบริการสารสนเทศประเภทหนังสือหายากและเอกสารจดหมายเหตุ
4. เป็นต้นแบบในการพัฒนาแหล่งสารสนเทศให้อยู่ในรูปดิจิทัล
5. เป็นการส่งเสริมการอ่านสำหรับสังคมไทย หรือผู้ที่สนใจ

หน่วยงานที่สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- งานบริการหนังสือหายาก
- งานสารนิเทศท้องถิ่น
- งานสารนิเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
- การจัดทำเอกสารงานวิจัยในรูปแบบดิจิทัล
3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการบริการข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล


ผู้ร่วมสัมมนา
1. อ. ปิยวรรณ คุสินธุ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฯ

2. นายทวี นวมนิ่ม ตำแหน่ง บรรณารักษ์

3. นางอัจฉราพร เลี้ยงอยู่ ตำแหน่ง บรรณารักษ์

4. นางนงลักษณ์ พหุพันธ์ ตำแหน่ง บรรณารักษ์ 7

5. นางสาวแขนภา ทองตัน ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์

6. นางสาววันเพ็ญ มาลาพงษ์ ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น

จากการอบรมเรื่อง การบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2552 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับโดย สกอ. โดยในปีการศึกษา 2552 ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่มีฐานข้อมูล IEEE และ Lexis Nexis เนื่องจากผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามและการจำกัดของงบประมาณ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงมีการบริการฐานข้อมูลดังต่อไปนี้
1. Proquest ประกอบด้วย 2 ฐานข้อมูลคือ
1.1 ABI/Inform เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านบริหารธุรกิจไว้มากที่สุด โดยรวบรวมสิ่งพิมพ์มากกว่า 3,500 ชื่อเรื่อง รวมถึง The Wall Street Journals, Eastern Edition, EIU View Wire, Going Global, Career Guides, Author Profiles, ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertations) และวิทยานิพนธ์ (Theses) สาขาบริหารธุรกิจที่ให้บริการรูปแบบฉบับเต็ม (Full text)อีก 18,000 ชื่อเรื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจาก ABI/Inform มาใช้เพื่อการศึกษาภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางธุรกิจ เทคนิคการจัดการ กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมเป็นต้น
1.2 Dissertations and Theses เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและปริญญาโทของสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา มากกว่า 1,000 แห่งประกอบไปด้วยวิทยานิพนธ์มากกว่า 2.3 ล้านชื่อเรื่อง
2. ACM Digital Library เป็นฐานข้อมูลทางสาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจากสำนักพิมพ์ ACM (Association for Computing Machinery ) ซึ่งรวบรวมสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ไว้ อาทิเช่น สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น วารสาร, Transactions เป็นต้น และเอกสารประกอบการประชุมโดยให้บริการสืบค้น ตั้งแต่ปี 1985-ปัจจุบัน และยังให้บริการเนื้อหาฉบับเต็ม (Full Text)
3. Springer Link เป็นสำนักพิมพ์ชั้นนำที่ให้บริการเนื้อหาในสาขาวิชาหลัก ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางการแพทย์ รวมถึงสาขาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีเน้อหาครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ วารสาร เป็นต้น
4. HW Wilson เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา บริการเอกสารฉบับเต็มจากวารสารไม่น้อยกว่า 1,400 ชื่อ ตั้งแต่ปี 1981-ปัจจุบันWeb of Science เป็นฐานข้อมูลอ้างอิง (Citation Database) ที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรมพร้อยด้วยบทคัดย่อ รายการอ้างอิง (Citing Article) ซึ่งครอบคลุมในสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากวาสารประมาณ 9,200 ชื่อ ให้บริการตั้งแต่ปี 2001-ปัจจุบัน
5. Web of Science เป็นฐานข้อมูลอ้างอิง (Citation Database) ที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรมพร้อยด้วยบทคัดย่อ รายการอ้างอิง (Citing Article) ซึ่งครอบคลุมในสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากวาสารประมาณ 9,200 ชื่อ ให้บริการตั้งแต่ปี 2001-ปัจจุบัน

ประโยชน์ที่ได้รับในการปฏิบัติงาน
1. การพัฒนาบริการสารสนเทศที่ทันสมัยในระดับสากล
2. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเรื่องการให้บริการสารสนเทศบนเว็บ
3. สร้างเครือข่ายการบริการสารสนเทศของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
4. สามารถแนะนำแหล่งสนับสนุนการทำผลงานการวิจัย วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาได้
5. เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยไทยมุ่งสู่การวิจัยในระดับสากล

หน่วยงานที่สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- งานบริการวิทยานิพนธ์/วิจัย
- งานตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมอบรม

1. นายทวี นวมนิ่ม ตำแหน่ง บรรณารักษ์
2. นายไตรสิทธิ์ พิชาศิรพัฒน์ ตำแหน่ง บรรณารักษ์
3. นายสวัสดิ์ อุราฤทธิ์ ตำแหน่ง บรรณารักษ์