31 ส.ค. 2553

โอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด

การประชุมวิชาการ เรื่อง "เครือข่ายความร่วมมือโอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด" วันที่ 26-27 สิงหาคม 2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยนาลัย
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายที่ใช้โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์ (OSS) ในการประยุกต์ใช้จัดการคลังความรู้ต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ และเอกชน ต่างก็ให้ความสนใจโอเพ่นซอร์สมากขึ้น

เรามาดูกันว่า โอเพ่นซอร์สทำอะไรได้บ้าง

1. ABDUL
HLT Lab ได้ทดลองสร้างระบบบริการภาษาแบบใหม่ผ่านทาง MSN โดยใช้ชื่อว่า “ABDUL” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาซึ่งเป็นผลงานของทาง HLT และหน่วยงานภายในเนคเทค เช่น พจนานุกรม แปลภาษา สืบค้นข้อมูล และบริการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้งาน ABDUL นั้น จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีให้ตรงตามความต้องการมากที่สุดต่อไปส่วนคำว่า “ABDUL” นั้น ก็มานิยามของคำพูดที่ติดหูคนทั่วไปว่า “ABDUL” ถามได้ตอบได้ สามารถช่วยตอบคำถามที่ผู้ถามอยากรู้คำตอบแบบโต้ตอบกันทันที จึงได้เรียกชื่อระบบบริการภาษาใหม่ผ่านทาง MSN นี้ว่า “ABDULhttp://www.thailibrary.in.th/2010/08/30/abdul/

2. ห้องสมุดไร้หนังสือเล่ม… กำลังจะมา
แนวโน้มของห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากยังมองไม่ไกลมากนักน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสี่ด้านในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ น่าจะเป็นที่ใฝ่หาของผู้ใช้ห้องสมุด และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักด้วยว่า ทำไมจึงยังต้องมีห้องสมุดอยู่ในสถาบันต่างๆ เพื่อบริการในสิ่งที่เหนือกว่าการเข้าร้านหนังสือ หรือการทำงานกันอยู่ที่หน้าจออินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แนวทางที่นำเสนอ ตั้งใจจะสื่อกับบรรณารักษ์ทั้งหลายในประเทศไทยว่า งานของห้องสมุดมีความสำคัญ หากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดี ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ และน่าจะได้งบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่อไป แนวโน้มสี่ด้านที่นำเสนอ คือ
1. เรื่องการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ
2. บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด
3. บริการด้านเอกสารและบริการถ่ายเอกสาร โดยการส่งทางอีเมล
4. บริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Digital Archive

3. Drupal + Bibliography + OAI2 ทางเลือกการพัฒนา IR แทน DSpace
กระแสการพัฒนาคลังเอกสารสถาบัน (Institutional Repository) โดย DSpace มาแรงมากในประเทศไทย แต่จากการศึกษามาระยะหนึ่งพบว่า DSpace แม้นจะเป็นโปรแกรมที่ได้ัรับการตอบรับในเรื่อง IR ด้วยเหตุผลหลากหลายต่างๆ ก็ตาม กลับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการใช้งาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความซับซ้อนของโปรแกรม การติดตั้งที่ยุ่งยาก ความต้องการใช้โปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้ลองศึกษาเครื่องมืออื่นๆ ในกลุ่ม Open Source Software เพื่อสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ในการพัฒนา IR ทั้งในมิติของการใช้งาน และการเรียนการสอน โดยยังอยู่ภายใต้แนวคิด Open Access, Dublin Core Metadata, OAI-PMH, Long-term Presevation และ Open Source ในที่สุดก็พบว่าโปรแกรมจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS: Content Management System) ที่สุดดังในยุคนี้ คือ Drupal ที่ประสานพลังด้วย Extension อย่าง Bibliograph & OAI2 เป็นเครื่องมือทางเลือกแทน DSpace ได้เป็นอย่างดี

Drupal เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี PHP + MySQL ทำให้สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการใช้งาน และการเรียนการสอนได้ง่าย สถาบันการศึกษาใด สนใจจะจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Metadata หรือ Open Access หรือ Institutional Repository หรือ Information Storage & Retrieval อย่างเป็นรูปธรรม สามารถติดต่อ STKS เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ Drupal + Bibliography + OAI2 ได้ http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/drupal-dspace-ir/

4. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย Vaja 6.0
เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างเสียงคำพูดใดๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในการใช้งานส่วนใหญ่จะต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา (Language Processing Technology) ทำให้ได้ เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ (Text-to-Speech Synthesis: TTS) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อความภาษาไทยเพื่อหาวิธีอ่านข้อความแล้วแปลง ข้อความจากตัวหนังสือภาษาไทยให้เป็น เสียงพูดภาษาไทย
ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูง (VAJA) สามารถสังเคราะห์เสียงพูด ภาษาไทยได้ ทุกคำ เนื่องจากมีส่วนวิเคราะห์คำอ่านที่สามารถวิเคราะห์ได้แม้แต่คำที่ไม่เคย ปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มคำเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล พร้อมทั้งกำหนด คำอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็น ซอฟต์แวร์ไลบรารี่ที่สะดวกสำหรับผู้นำไปพัฒนาต่อ

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด ได้แก่
1.สามารถนำเทคโนโลยี สังเคราะห์เสียงพูด มาแปลง ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณ มากและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การส่งข่าวสารผ่าน Voice Message การรายงานข่าวการวิเคราะห์หุ้นมาเป็นเสียงพูดเพื่อให้ผู้รับข่าวสารได้รับ ข่าวที่ทันสมัยอยู่ ตลอดเวลา
2.สามารถเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครือ ข่ายพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น เครือข่ายโทรศัพท์บ้านโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเผยแพร่ทางเสียง เป็นวิธีการพื้นฐาน ที่เข้าถึงได้ ทุกเครือข่าย โดยไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม
3.ผู้รับข่าวสารสามารถรับข่าวสาร โดยไม่ต้องละจากกิจกรรม ที่ทำอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้รับอยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย ได้ เช่น ขณะขับขี่รถยนต์
4.สามารถประยุกต์ใช้กับ อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่น ผู้ใช้บริการ สามารถส่งข้อมูล โดยโทรสาร ในขณะที่ผู้รับปลายทางสามารถรับฟังข้อความบนเอกสารโดยโทรศัพท์ทั่วไป
5.การเพิ่มโอกาสให้คนพิการ เช่น โปรแกรมอ่านข้อมูลเพื่อคนตาบอด หรืออุปกรณ์ช่วยพูด แทนคนใบ้
http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/vaja-6-0/#more-43
และมีอื่นๆ อีกมากมายที่โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์สามารถทำได้ ท่านใดสนใจเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ STKS และเว็บไซท์กลางการจัดการห้องสมุด ThaiLibrary ค่ะ

*** ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดีๆ คำว่า เว็บไซต์ ในบทความนี้ ได้ถูกเขียนเป็น เว็บไซท์ ไม่ได้เขียนผิดนะคะ แต่ขณะนี้ ได้เปลี่ยนให้ ไซต์ เขียนเป็น ไซท์ แบบนี้ค่ะ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการค่ะ

ลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ กันนะคะ

16 ส.ค. 2553

WUNCA ครั้งที่ 22

เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผมและคณะได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 การเดินทางครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี
2. อาจารย์อภิรัตน์ วงศ์ศุภชาติ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
3. อาจารย์อัตภาพ มณีเติม รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
4. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์งานสารสนเทศพิเศษ
5. นายวิกรม์ นวมงาม ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
6. นายธีรยุทธ ทั่งทอง ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด

งาน WUNCA ครั้งนี้มีการกล่าวรายงานความคืบหน้าจากการดำเนินงานของ UNINET ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในการเชื่อมต่อเครือข่ายกับ NIA, KoRen และมีการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง UniNet, สมาคม ThaiREN และ NIA, KoRen นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น
1. การพัฒนา Mobile Internet and ITS Application In Online Map
2. การพัฒนาเทคโนโลยี RFID จากแผ่นวงจรขนาดใหญ่มาสู่ขนาดเล็กลงคล้ายแถบแม่เหล็กที่ซ่อนในทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ได้ เพื่อป้องกันการทำลายหรือการชำรุดของแผ่นวงจร RFID
3. การพัฒนา Domain Name ที่เป็นภาษาไทย ซึ่งขณะนี้คณะทำงานได้มีการศึกษานามสกุลของโดเมนเนมภาษาไทยว่าควรใช้คำอะไรบ้าง และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

25 ก.พ. 2553

มาตรฐานสื่อดิจิทัล

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อบริการยุคสังคมฐานความรู้" เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 53 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรายละเอียดดังนี้
สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์
สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้
วิวัฒนาการ การพัฒนาการเขียนในยุคต่างๆ ในอดีตทำให้เกิดการเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสู่การใช้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นสถิติที่สูง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนดมาตรฐานสื่อดิจิทัลขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สูงสุด

การจัดการสื่อดิจิทัล
1. มีการถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
2. ให้เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
3. มีมาตรฐานเพื่อการนำมาใช้ใหม่ได้หลายๆครั้ง
4. มีการไหลเวียนผ่านกระบวนการที่สร้างคุณค่า

ปัญหา e-book Online
1. ความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์
2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
3. การจัดระบบของข้อมูล
4. มาตรฐานเนื้อหา
5. คุณภาพของข้อมูล

จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องจัดระบบมาตรฐานสื่อดิจิทัลก่อนนำเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งมีความสำคัญและสามารถกำหนดอนาคตของสังคม

ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมา มักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อมากกว่าการพิจารณามาตรฐานในการนำสื่อไปใช้งาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลาย รวมถึงปัญหาในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล จึงต้องมีข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้นดังนี้
1. การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร เช่น ชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อแฟ้มเอกสา ร ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษและอาจใช้ตัวเลขร่วมด้วยก็ได้ ควรตั้งชื่อเอกสารให้สื่อความหมายกับเนื้อหาของเอกสารด้วย
2. ข้อกำหนดภาพดิจิทัล เช่น กล้องดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ควรตั้งวันที่และเวลาโดยอ้างอิงที่เว็บไซต์ http://www.nimt.or.th/ ความละเอียดของภาพน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 300 dpi ขึ้นไป ขนาดภาพไม่ควรกำหนดไว้ต่ำกว่า1024x768 พิกเซล คุณลักษณะเฉพาะภาพ และกำหนดรายละเอียดของภาพ IPTC Metadata โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการภาพ เช่น ACDSee, Xnview, และ Photoshop
3. ข้อกำหนดเอกสารเว็บ เช่น กำหนดชุดของตัวอักษร การระบุแบบอักษร การนำภาพมาประกอบ
4. ข้อกำหนดเอกสารงานพิมพ์ เช่น หน่วยงานควรกำหนดแบบอักษรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้เป็นชุดเดียวกัน การเลือกใช้แบบอักษร รูปแบบการสร้างงาน และควรฝังข้อมูล Metadata ลงไปในแฟ้มเอกสารทุก ๆ แฟ้มด้วย โดยไปที่เมนู File --> Properties
5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
6. ข้อกำหนดสื่อนำเสนอ เช่น หน่วยงานควรกำหนดรูปแบบในการนำเสนอชุดงานหนึ่งๆ เป็นแนวทางเดียวกัน
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ” โดย บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ หรือที่ http://stks.or.th/ หรือติดตามได้จาก http://pbruaritkm.blogspot.com/

ผู้ร่วมประชุม
1. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
2. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์

งาน WUNCA ครั้งที่ 21

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดย ผศ. เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี อ. ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการ และบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ อีกจำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 21 (WUNCA21st & CIT2010)” ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยการประชุมดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. การประชุมวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (National Conference on Computer Information Technologies 2010 หรือ CIT2010) และการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารและจัดการเครือข่ายยูนิเน็ท (UniNet Network Operation and Management Workshop หรือ UniNOMS 2010) เป็นการประชุมทางวิชาการระดับประเทศในสาขาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะจัดให้มีการนําเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยี ที่มีคุณค่าทางวิชาการ อันก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการอุตสาหกรรมของประเทศ
2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 21” (WUNCA21st) เป็นเวทีที่ให้มหาวิทยาลัย/สถาบันที่เป็นสมาชิกบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบ และบริหารจัดการเครือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนา การศึกษา (Inter-University Network : UniNet) โดยเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบัน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชุมชน เป็นการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน และได้ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาทั้งทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายดังกล่าว การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบและบริหารจัดการเครือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกัน
ซึ่งนอกจากการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลแล้วยังจะเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จะได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มกับเพื่อนสมาชิกเพื่อทำการศึกษาและวิจัย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการศึกษาและยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษากับเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องให้บุคลากรของสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) รับทราบข้อมูลของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติ ทั้งในด้านเครือข่ายสารสนเทศและเนื้อหา (Content) บนเครือข่ายฯ ตลอดจนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของสถาบันสมาชิกเครือข่าย
และความคืบหน้าล่าสุดของ UniNet คือ สมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย (ThaiREN) ได้ทำพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศไทย (ThaiREN) และประเทศไต้หวัน (TANet, TWNIC) ในงาน WUNCA ครั้งนี้ด้วย ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thairen.net.th/NewThaiRen/Thai/index_th.phpหรือ http://www.uni.net.th/ และโปรดติดตามเรื่องของ UniNet ได้ในโอกาสต่อไปครับ

ผู้ร่วมประชุม
  1. ผศ. เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  2. อ. ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
  4. นายกุศลพงศ์ พิชาศิรพัฒน์ บรรณารักษ์
  5. นางสาวภาวิณี อรุณรัตน์ บรรณารักษ์
  6. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  7. นายวิกรม์ นวมงาม ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์