25 ก.พ. 2553

มาตรฐานสื่อดิจิทัล

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อบริการยุคสังคมฐานความรู้" เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 53 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรายละเอียดดังนี้
สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์
สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้
วิวัฒนาการ การพัฒนาการเขียนในยุคต่างๆ ในอดีตทำให้เกิดการเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสู่การใช้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นสถิติที่สูง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนดมาตรฐานสื่อดิจิทัลขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สูงสุด

การจัดการสื่อดิจิทัล
1. มีการถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
2. ให้เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
3. มีมาตรฐานเพื่อการนำมาใช้ใหม่ได้หลายๆครั้ง
4. มีการไหลเวียนผ่านกระบวนการที่สร้างคุณค่า

ปัญหา e-book Online
1. ความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์
2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
3. การจัดระบบของข้อมูล
4. มาตรฐานเนื้อหา
5. คุณภาพของข้อมูล

จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องจัดระบบมาตรฐานสื่อดิจิทัลก่อนนำเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งมีความสำคัญและสามารถกำหนดอนาคตของสังคม

ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมา มักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อมากกว่าการพิจารณามาตรฐานในการนำสื่อไปใช้งาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลาย รวมถึงปัญหาในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล จึงต้องมีข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้นดังนี้
1. การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร เช่น ชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อแฟ้มเอกสา ร ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษและอาจใช้ตัวเลขร่วมด้วยก็ได้ ควรตั้งชื่อเอกสารให้สื่อความหมายกับเนื้อหาของเอกสารด้วย
2. ข้อกำหนดภาพดิจิทัล เช่น กล้องดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ควรตั้งวันที่และเวลาโดยอ้างอิงที่เว็บไซต์ http://www.nimt.or.th/ ความละเอียดของภาพน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 300 dpi ขึ้นไป ขนาดภาพไม่ควรกำหนดไว้ต่ำกว่า1024x768 พิกเซล คุณลักษณะเฉพาะภาพ และกำหนดรายละเอียดของภาพ IPTC Metadata โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการภาพ เช่น ACDSee, Xnview, และ Photoshop
3. ข้อกำหนดเอกสารเว็บ เช่น กำหนดชุดของตัวอักษร การระบุแบบอักษร การนำภาพมาประกอบ
4. ข้อกำหนดเอกสารงานพิมพ์ เช่น หน่วยงานควรกำหนดแบบอักษรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้เป็นชุดเดียวกัน การเลือกใช้แบบอักษร รูปแบบการสร้างงาน และควรฝังข้อมูล Metadata ลงไปในแฟ้มเอกสารทุก ๆ แฟ้มด้วย โดยไปที่เมนู File --> Properties
5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
6. ข้อกำหนดสื่อนำเสนอ เช่น หน่วยงานควรกำหนดรูปแบบในการนำเสนอชุดงานหนึ่งๆ เป็นแนวทางเดียวกัน
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ” โดย บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ หรือที่ http://stks.or.th/ หรือติดตามได้จาก http://pbruaritkm.blogspot.com/

ผู้ร่วมประชุม
1. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
2. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์

งาน WUNCA ครั้งที่ 21

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดย ผศ. เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี อ. ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการ และบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ อีกจำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 21 (WUNCA21st & CIT2010)” ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยการประชุมดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. การประชุมวิชาการทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (National Conference on Computer Information Technologies 2010 หรือ CIT2010) และการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารและจัดการเครือข่ายยูนิเน็ท (UniNet Network Operation and Management Workshop หรือ UniNOMS 2010) เป็นการประชุมทางวิชาการระดับประเทศในสาขาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะจัดให้มีการนําเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยี ที่มีคุณค่าทางวิชาการ อันก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการอุตสาหกรรมของประเทศ
2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 21” (WUNCA21st) เป็นเวทีที่ให้มหาวิทยาลัย/สถาบันที่เป็นสมาชิกบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบ และบริหารจัดการเครือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนา การศึกษา (Inter-University Network : UniNet) โดยเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบัน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชุมชน เป็นการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน และได้ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาทั้งทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายดังกล่าว การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบและบริหารจัดการเครือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกัน
ซึ่งนอกจากการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลแล้วยังจะเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จะได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มกับเพื่อนสมาชิกเพื่อทำการศึกษาและวิจัย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการศึกษาและยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษากับเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องให้บุคลากรของสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) รับทราบข้อมูลของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติ ทั้งในด้านเครือข่ายสารสนเทศและเนื้อหา (Content) บนเครือข่ายฯ ตลอดจนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของสถาบันสมาชิกเครือข่าย
และความคืบหน้าล่าสุดของ UniNet คือ สมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย (ThaiREN) ได้ทำพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศไทย (ThaiREN) และประเทศไต้หวัน (TANet, TWNIC) ในงาน WUNCA ครั้งนี้ด้วย ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thairen.net.th/NewThaiRen/Thai/index_th.phpหรือ http://www.uni.net.th/ และโปรดติดตามเรื่องของ UniNet ได้ในโอกาสต่อไปครับ

ผู้ร่วมประชุม
  1. ผศ. เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  2. อ. ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
  4. นายกุศลพงศ์ พิชาศิรพัฒน์ บรรณารักษ์
  5. นางสาวภาวิณี อรุณรัตน์ บรรณารักษ์
  6. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  7. นายวิกรม์ นวมงาม ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์