25 ก.พ. 2553

มาตรฐานสื่อดิจิทัล

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อบริการยุคสังคมฐานความรู้" เมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 53 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรายละเอียดดังนี้
สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์
สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้
วิวัฒนาการ การพัฒนาการเขียนในยุคต่างๆ ในอดีตทำให้เกิดการเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสู่การใช้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นสถิติที่สูง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการ และกำหนดมาตรฐานสื่อดิจิทัลขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สูงสุด

การจัดการสื่อดิจิทัล
1. มีการถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
2. ให้เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
3. มีมาตรฐานเพื่อการนำมาใช้ใหม่ได้หลายๆครั้ง
4. มีการไหลเวียนผ่านกระบวนการที่สร้างคุณค่า

ปัญหา e-book Online
1. ความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์
2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
3. การจัดระบบของข้อมูล
4. มาตรฐานเนื้อหา
5. คุณภาพของข้อมูล

จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องจัดระบบมาตรฐานสื่อดิจิทัลก่อนนำเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งมีความสำคัญและสามารถกำหนดอนาคตของสังคม

ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมา มักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อมากกว่าการพิจารณามาตรฐานในการนำสื่อไปใช้งาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลาย รวมถึงปัญหาในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล จึงต้องมีข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้นดังนี้
1. การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร เช่น ชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อแฟ้มเอกสา ร ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษและอาจใช้ตัวเลขร่วมด้วยก็ได้ ควรตั้งชื่อเอกสารให้สื่อความหมายกับเนื้อหาของเอกสารด้วย
2. ข้อกำหนดภาพดิจิทัล เช่น กล้องดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ ควรตั้งวันที่และเวลาโดยอ้างอิงที่เว็บไซต์ http://www.nimt.or.th/ ความละเอียดของภาพน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 300 dpi ขึ้นไป ขนาดภาพไม่ควรกำหนดไว้ต่ำกว่า1024x768 พิกเซล คุณลักษณะเฉพาะภาพ และกำหนดรายละเอียดของภาพ IPTC Metadata โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการภาพ เช่น ACDSee, Xnview, และ Photoshop
3. ข้อกำหนดเอกสารเว็บ เช่น กำหนดชุดของตัวอักษร การระบุแบบอักษร การนำภาพมาประกอบ
4. ข้อกำหนดเอกสารงานพิมพ์ เช่น หน่วยงานควรกำหนดแบบอักษรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้เป็นชุดเดียวกัน การเลือกใช้แบบอักษร รูปแบบการสร้างงาน และควรฝังข้อมูล Metadata ลงไปในแฟ้มเอกสารทุก ๆ แฟ้มด้วย โดยไปที่เมนู File --> Properties
5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
6. ข้อกำหนดสื่อนำเสนอ เช่น หน่วยงานควรกำหนดรูปแบบในการนำเสนอชุดงานหนึ่งๆ เป็นแนวทางเดียวกัน
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ “ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ” โดย บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ หรือที่ http://stks.or.th/ หรือติดตามได้จาก http://pbruaritkm.blogspot.com/

ผู้ร่วมประชุม
1. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์
2. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์

4 ความคิดเห็น:

  1. ชื่อโฟล์เดอร์
    การกำหนดโฟลเดอร์ก่อนที่จะสร้างสื่อใด ๆเป้นลำดับขั้นตอนที่ควรปฏิบัติทุกครั้งจากนั้นเมื่อมีการสร้างเอกสารควรบันทึกเอกสารไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และหน่วยงานอาจจะมีข้อกำหนดการตั้งชื่อโฟล์เดอร์และการจัดเก็บเอกสารลงโฟลเดอร์ด้วย
    เอกสารที่ต้องการใช้ประกอบการพัฒนาเว้บไซต์ (ในรูปแบบ html) หรือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ สื่อเชิงโต้ตอบ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการจัดการโฟลเดอร์ โดยควรจัดเก็บไว้ในที่เดียวกันเพื่อป้องกันปัญหาจุดเชื่อม (link)ที่อาจจะผิดพลาดได้ ตลอดทั้งชื่อโฟลเดอร์ต้องกำหนดให้มีความหมายกระชับภายใต่ข้อกำหนด ดังนี้
    - กำหนดชื่อโฟลเดอร์ด้วยภาษาอังกฤษที่กระชับและสั้นที่สุด (ไม่ต้องใส่วันที่หรือคำขยายความใด ๆ) เพื่อช่วยให้ Search Engine ค้นหาพบโดยง่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อภาษาไทย เนื่องจากซอฟต์แวร์อาจจะเบ่งเป็นรหัสพิเศษที่ไม่สื่อความหมาย และไม่รองรับการเข้าถึงของ Search Engine บางตัว
    - กรณีที่มีหลายคำให้พิมพ์ติดกันหมดหรือใช้ - (Hyphen) เชื่อมระหว่างคำ ไม่ใช้ Space และ Underscore _ เพราะจะสร้างปัญหาเมื่อเป้นส่วนหนึ่งของ URL ซึ่งมักจะมีการขีดเส้นใต้ทำให้สัญญลักษณ์ Underscore ทับกับขีดเส้นใต้

    ข้อมูลจาก
    บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. "ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ" พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี : ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช., 2552. หน้า 2-3.

    ตอบลบ
  2. การตั้งชื่อแฟ้มเอกสาร ควรกำหนดหลักการตั้งชื่อแฟ้มเอกสารให้ชัดเจน โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

    - ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ สามารถนำตัวเลขผสมร่วมกันได้
    - ไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนใด ๆ ยกเว้น . (Full Stop) และ - (Hyphen)เท่านั้น
    - ในการร่างเอกสารเป้นครั้งแรกให้ใส่วันที่ไว้ข้างหน้า โดยใช้รูปแบบ yyyymmdd แล้วตามด้วยคำที่สื่อความหมายของเนื้อหาในเอกสาร ตัวอย่าง 20100226-DCStandard.doc
    * กรณีที่ในวันเดียวกันนั้น มีการแก้ไขและทบทวนออกมาอีก 2เวอร์ชั่น ให้ตั้งชื่อแฟ้มใหม่โดยเติมตัวเลขกำกับเวอร์ชั้นต่อท้าย ดังตัวอย่าง
    20100226-DCStandard-1.doc
    20100226-DCStandard-2.doc
    * ในกรณีที่มีการแก้ไขและปรับปรุงในวันอื่น ๆ ถัดมาให้ตั้งชื่อใหม่ตามวันที่ ดังตัวอย่าง
    20100227-DCStandard.doc

    แฟ้มเอกสารชนิดอื่น ๆ ก็สามารถใช้หลักการนี้ได้เช่นเดียวกัน

    ข้อมูลจาก
    บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. "ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ" พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี : ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช., 2552. หน้า 3.

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลที่ได้จัดทำเป็นสื่อดิจิทัลของมรภ.เพชรบุรี ที่ได้ทำไปแล้วมีอะไรบ้างคะ หรืออยู่ในโครงการที่จะพัฒนาให้อยู่ในรูปของสื่อดิจิทัล

    ตอบลบ
  4. ขณะนี้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มร.พบ. ได้จัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จะจัดทำสื่อดิจิทัลไว้บางส่วนแล้ว และก็มีบางส่วนที่เป็นสื่อดิจิทัลแล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วารสาร และบทความวิชาการ ของ มร.พบ. ในบางส่วน สามารถค้นคว้าได้ที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS ที่ http://book.pbru.ac.th/cgi-bin/gw_43_3/chameleon? แต่เนื่องด้วยฟังค์ชั่นการทำงานของ VTLS บางอย่างยังไม่เอื้ออำนวยกับการใช้สื่อดิจิทัลนี้ สำนักฯจึงได้มองหาระบบจัดการสื่อดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานในระดับสากลมาช่วยในการจัดการ ซึ่งได้แก่ ระบบห้องสมุดดิจิทัล Greenstone หรือ Dspace อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอยู่ในโครงการพัฒนาสื่อดิจิทัลของสำนักฯ นั่นเองครับ และสำนักฯก็จะได้จัดหาผู้ฝึกอบรมเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลและระบบการจัดการสื่อดิจิทัลมาฝึกอบรมให้บุคลากรของสำนักฯและผู้ที่สนใจต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงติดต่อวิทยากรจาก STKS อยู่ครับ ส่วนบทความที่ลงนี้เราเน้นในเรื่องของการจัดทำสื่อดิจิทัลให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานแค่นั้นครับ ซึ่งถ้าเราได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการสื่อดิจิทัลเมื่อไหร่แล้วจะนำมาเล่าให้รับทราบกันครับผม...

    ตอบลบ