31 ส.ค. 2553

โอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด

การประชุมวิชาการ เรื่อง "เครือข่ายความร่วมมือโอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด" วันที่ 26-27 สิงหาคม 2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยนาลัย
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายที่ใช้โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์ (OSS) ในการประยุกต์ใช้จัดการคลังความรู้ต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ และเอกชน ต่างก็ให้ความสนใจโอเพ่นซอร์สมากขึ้น

เรามาดูกันว่า โอเพ่นซอร์สทำอะไรได้บ้าง

1. ABDUL
HLT Lab ได้ทดลองสร้างระบบบริการภาษาแบบใหม่ผ่านทาง MSN โดยใช้ชื่อว่า “ABDUL” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาซึ่งเป็นผลงานของทาง HLT และหน่วยงานภายในเนคเทค เช่น พจนานุกรม แปลภาษา สืบค้นข้อมูล และบริการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้งาน ABDUL นั้น จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีให้ตรงตามความต้องการมากที่สุดต่อไปส่วนคำว่า “ABDUL” นั้น ก็มานิยามของคำพูดที่ติดหูคนทั่วไปว่า “ABDUL” ถามได้ตอบได้ สามารถช่วยตอบคำถามที่ผู้ถามอยากรู้คำตอบแบบโต้ตอบกันทันที จึงได้เรียกชื่อระบบบริการภาษาใหม่ผ่านทาง MSN นี้ว่า “ABDULhttp://www.thailibrary.in.th/2010/08/30/abdul/

2. ห้องสมุดไร้หนังสือเล่ม… กำลังจะมา
แนวโน้มของห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากยังมองไม่ไกลมากนักน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสี่ด้านในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ น่าจะเป็นที่ใฝ่หาของผู้ใช้ห้องสมุด และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักด้วยว่า ทำไมจึงยังต้องมีห้องสมุดอยู่ในสถาบันต่างๆ เพื่อบริการในสิ่งที่เหนือกว่าการเข้าร้านหนังสือ หรือการทำงานกันอยู่ที่หน้าจออินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แนวทางที่นำเสนอ ตั้งใจจะสื่อกับบรรณารักษ์ทั้งหลายในประเทศไทยว่า งานของห้องสมุดมีความสำคัญ หากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดี ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ และน่าจะได้งบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่อไป แนวโน้มสี่ด้านที่นำเสนอ คือ
1. เรื่องการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ
2. บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด
3. บริการด้านเอกสารและบริการถ่ายเอกสาร โดยการส่งทางอีเมล
4. บริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Digital Archive

3. Drupal + Bibliography + OAI2 ทางเลือกการพัฒนา IR แทน DSpace
กระแสการพัฒนาคลังเอกสารสถาบัน (Institutional Repository) โดย DSpace มาแรงมากในประเทศไทย แต่จากการศึกษามาระยะหนึ่งพบว่า DSpace แม้นจะเป็นโปรแกรมที่ได้ัรับการตอบรับในเรื่อง IR ด้วยเหตุผลหลากหลายต่างๆ ก็ตาม กลับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการใช้งาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความซับซ้อนของโปรแกรม การติดตั้งที่ยุ่งยาก ความต้องการใช้โปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้ลองศึกษาเครื่องมืออื่นๆ ในกลุ่ม Open Source Software เพื่อสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ในการพัฒนา IR ทั้งในมิติของการใช้งาน และการเรียนการสอน โดยยังอยู่ภายใต้แนวคิด Open Access, Dublin Core Metadata, OAI-PMH, Long-term Presevation และ Open Source ในที่สุดก็พบว่าโปรแกรมจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS: Content Management System) ที่สุดดังในยุคนี้ คือ Drupal ที่ประสานพลังด้วย Extension อย่าง Bibliograph & OAI2 เป็นเครื่องมือทางเลือกแทน DSpace ได้เป็นอย่างดี

Drupal เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี PHP + MySQL ทำให้สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการใช้งาน และการเรียนการสอนได้ง่าย สถาบันการศึกษาใด สนใจจะจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Metadata หรือ Open Access หรือ Institutional Repository หรือ Information Storage & Retrieval อย่างเป็นรูปธรรม สามารถติดต่อ STKS เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ Drupal + Bibliography + OAI2 ได้ http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/drupal-dspace-ir/

4. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย Vaja 6.0
เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างเสียงคำพูดใดๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในการใช้งานส่วนใหญ่จะต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา (Language Processing Technology) ทำให้ได้ เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ (Text-to-Speech Synthesis: TTS) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อความภาษาไทยเพื่อหาวิธีอ่านข้อความแล้วแปลง ข้อความจากตัวหนังสือภาษาไทยให้เป็น เสียงพูดภาษาไทย
ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูง (VAJA) สามารถสังเคราะห์เสียงพูด ภาษาไทยได้ ทุกคำ เนื่องจากมีส่วนวิเคราะห์คำอ่านที่สามารถวิเคราะห์ได้แม้แต่คำที่ไม่เคย ปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มคำเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล พร้อมทั้งกำหนด คำอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็น ซอฟต์แวร์ไลบรารี่ที่สะดวกสำหรับผู้นำไปพัฒนาต่อ

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด ได้แก่
1.สามารถนำเทคโนโลยี สังเคราะห์เสียงพูด มาแปลง ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณ มากและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การส่งข่าวสารผ่าน Voice Message การรายงานข่าวการวิเคราะห์หุ้นมาเป็นเสียงพูดเพื่อให้ผู้รับข่าวสารได้รับ ข่าวที่ทันสมัยอยู่ ตลอดเวลา
2.สามารถเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครือ ข่ายพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น เครือข่ายโทรศัพท์บ้านโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเผยแพร่ทางเสียง เป็นวิธีการพื้นฐาน ที่เข้าถึงได้ ทุกเครือข่าย โดยไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม
3.ผู้รับข่าวสารสามารถรับข่าวสาร โดยไม่ต้องละจากกิจกรรม ที่ทำอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้รับอยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย ได้ เช่น ขณะขับขี่รถยนต์
4.สามารถประยุกต์ใช้กับ อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่น ผู้ใช้บริการ สามารถส่งข้อมูล โดยโทรสาร ในขณะที่ผู้รับปลายทางสามารถรับฟังข้อความบนเอกสารโดยโทรศัพท์ทั่วไป
5.การเพิ่มโอกาสให้คนพิการ เช่น โปรแกรมอ่านข้อมูลเพื่อคนตาบอด หรืออุปกรณ์ช่วยพูด แทนคนใบ้
http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/vaja-6-0/#more-43
และมีอื่นๆ อีกมากมายที่โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์สามารถทำได้ ท่านใดสนใจเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ STKS และเว็บไซท์กลางการจัดการห้องสมุด ThaiLibrary ค่ะ

*** ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดีๆ คำว่า เว็บไซต์ ในบทความนี้ ได้ถูกเขียนเป็น เว็บไซท์ ไม่ได้เขียนผิดนะคะ แต่ขณะนี้ ได้เปลี่ยนให้ ไซต์ เขียนเป็น ไซท์ แบบนี้ค่ะ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการค่ะ

ลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ กันนะคะ

16 ส.ค. 2553

WUNCA ครั้งที่ 22

เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผมและคณะได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 การเดินทางครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวลิต คงแก้ว รองอธิการบดี
2. อาจารย์อภิรัตน์ วงศ์ศุภชาติ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
3. อาจารย์อัตภาพ มณีเติม รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
4. นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์งานสารสนเทศพิเศษ
5. นายวิกรม์ นวมงาม ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
6. นายธีรยุทธ ทั่งทอง ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด

งาน WUNCA ครั้งนี้มีการกล่าวรายงานความคืบหน้าจากการดำเนินงานของ UNINET ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในการเชื่อมต่อเครือข่ายกับ NIA, KoRen และมีการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่าง UniNet, สมาคม ThaiREN และ NIA, KoRen นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น
1. การพัฒนา Mobile Internet and ITS Application In Online Map
2. การพัฒนาเทคโนโลยี RFID จากแผ่นวงจรขนาดใหญ่มาสู่ขนาดเล็กลงคล้ายแถบแม่เหล็กที่ซ่อนในทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ได้ เพื่อป้องกันการทำลายหรือการชำรุดของแผ่นวงจร RFID
3. การพัฒนา Domain Name ที่เป็นภาษาไทย ซึ่งขณะนี้คณะทำงานได้มีการศึกษานามสกุลของโดเมนเนมภาษาไทยว่าควรใช้คำอะไรบ้าง และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด