31 ส.ค. 2553

โอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด

การประชุมวิชาการ เรื่อง "เครือข่ายความร่วมมือโอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด" วันที่ 26-27 สิงหาคม 2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยนาลัย
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายที่ใช้โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์ (OSS) ในการประยุกต์ใช้จัดการคลังความรู้ต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ และเอกชน ต่างก็ให้ความสนใจโอเพ่นซอร์สมากขึ้น

เรามาดูกันว่า โอเพ่นซอร์สทำอะไรได้บ้าง

1. ABDUL
HLT Lab ได้ทดลองสร้างระบบบริการภาษาแบบใหม่ผ่านทาง MSN โดยใช้ชื่อว่า “ABDUL” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาซึ่งเป็นผลงานของทาง HLT และหน่วยงานภายในเนคเทค เช่น พจนานุกรม แปลภาษา สืบค้นข้อมูล และบริการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้งาน ABDUL นั้น จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีให้ตรงตามความต้องการมากที่สุดต่อไปส่วนคำว่า “ABDUL” นั้น ก็มานิยามของคำพูดที่ติดหูคนทั่วไปว่า “ABDUL” ถามได้ตอบได้ สามารถช่วยตอบคำถามที่ผู้ถามอยากรู้คำตอบแบบโต้ตอบกันทันที จึงได้เรียกชื่อระบบบริการภาษาใหม่ผ่านทาง MSN นี้ว่า “ABDULhttp://www.thailibrary.in.th/2010/08/30/abdul/

2. ห้องสมุดไร้หนังสือเล่ม… กำลังจะมา
แนวโน้มของห้องสมุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากยังมองไม่ไกลมากนักน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสี่ด้านในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ น่าจะเป็นที่ใฝ่หาของผู้ใช้ห้องสมุด และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะเป็นเหตุผลหลักด้วยว่า ทำไมจึงยังต้องมีห้องสมุดอยู่ในสถาบันต่างๆ เพื่อบริการในสิ่งที่เหนือกว่าการเข้าร้านหนังสือ หรือการทำงานกันอยู่ที่หน้าจออินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แนวทางที่นำเสนอ ตั้งใจจะสื่อกับบรรณารักษ์ทั้งหลายในประเทศไทยว่า งานของห้องสมุดมีความสำคัญ หากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดี ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ และน่าจะได้งบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานต่อไป แนวโน้มสี่ด้านที่นำเสนอ คือ
1. เรื่องการจัดพื้นที่ การทำหน้าตาของห้องสมุดให้เป็นที่น่าสนใจ
2. บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับห้องสมุด
3. บริการด้านเอกสารและบริการถ่ายเอกสาร โดยการส่งทางอีเมล
4. บริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Digital Archive

3. Drupal + Bibliography + OAI2 ทางเลือกการพัฒนา IR แทน DSpace
กระแสการพัฒนาคลังเอกสารสถาบัน (Institutional Repository) โดย DSpace มาแรงมากในประเทศไทย แต่จากการศึกษามาระยะหนึ่งพบว่า DSpace แม้นจะเป็นโปรแกรมที่ได้ัรับการตอบรับในเรื่อง IR ด้วยเหตุผลหลากหลายต่างๆ ก็ตาม กลับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการใช้งาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความซับซ้อนของโปรแกรม การติดตั้งที่ยุ่งยาก ความต้องการใช้โปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้ลองศึกษาเครื่องมืออื่นๆ ในกลุ่ม Open Source Software เพื่อสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ในการพัฒนา IR ทั้งในมิติของการใช้งาน และการเรียนการสอน โดยยังอยู่ภายใต้แนวคิด Open Access, Dublin Core Metadata, OAI-PMH, Long-term Presevation และ Open Source ในที่สุดก็พบว่าโปรแกรมจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS: Content Management System) ที่สุดดังในยุคนี้ คือ Drupal ที่ประสานพลังด้วย Extension อย่าง Bibliograph & OAI2 เป็นเครื่องมือทางเลือกแทน DSpace ได้เป็นอย่างดี

Drupal เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี PHP + MySQL ทำให้สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการใช้งาน และการเรียนการสอนได้ง่าย สถาบันการศึกษาใด สนใจจะจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Metadata หรือ Open Access หรือ Institutional Repository หรือ Information Storage & Retrieval อย่างเป็นรูปธรรม สามารถติดต่อ STKS เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ Drupal + Bibliography + OAI2 ได้ http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/drupal-dspace-ir/

4. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย Vaja 6.0
เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างเสียงคำพูดใดๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในการใช้งานส่วนใหญ่จะต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา (Language Processing Technology) ทำให้ได้ เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ (Text-to-Speech Synthesis: TTS) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อความภาษาไทยเพื่อหาวิธีอ่านข้อความแล้วแปลง ข้อความจากตัวหนังสือภาษาไทยให้เป็น เสียงพูดภาษาไทย
ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูง (VAJA) สามารถสังเคราะห์เสียงพูด ภาษาไทยได้ ทุกคำ เนื่องจากมีส่วนวิเคราะห์คำอ่านที่สามารถวิเคราะห์ได้แม้แต่คำที่ไม่เคย ปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มคำเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล พร้อมทั้งกำหนด คำอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็น ซอฟต์แวร์ไลบรารี่ที่สะดวกสำหรับผู้นำไปพัฒนาต่อ

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด ได้แก่
1.สามารถนำเทคโนโลยี สังเคราะห์เสียงพูด มาแปลง ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณ มากและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การส่งข่าวสารผ่าน Voice Message การรายงานข่าวการวิเคราะห์หุ้นมาเป็นเสียงพูดเพื่อให้ผู้รับข่าวสารได้รับ ข่าวที่ทันสมัยอยู่ ตลอดเวลา
2.สามารถเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครือ ข่ายพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น เครือข่ายโทรศัพท์บ้านโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเผยแพร่ทางเสียง เป็นวิธีการพื้นฐาน ที่เข้าถึงได้ ทุกเครือข่าย โดยไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม
3.ผู้รับข่าวสารสามารถรับข่าวสาร โดยไม่ต้องละจากกิจกรรม ที่ทำอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้รับอยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย ได้ เช่น ขณะขับขี่รถยนต์
4.สามารถประยุกต์ใช้กับ อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่น ผู้ใช้บริการ สามารถส่งข้อมูล โดยโทรสาร ในขณะที่ผู้รับปลายทางสามารถรับฟังข้อความบนเอกสารโดยโทรศัพท์ทั่วไป
5.การเพิ่มโอกาสให้คนพิการ เช่น โปรแกรมอ่านข้อมูลเพื่อคนตาบอด หรืออุปกรณ์ช่วยพูด แทนคนใบ้
http://www.thailibrary.in.th/2010/08/29/vaja-6-0/#more-43
และมีอื่นๆ อีกมากมายที่โอเพ่นซอร์ส ซอร์ฟแวร์สามารถทำได้ ท่านใดสนใจเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ STKS และเว็บไซท์กลางการจัดการห้องสมุด ThaiLibrary ค่ะ

*** ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดีๆ คำว่า เว็บไซต์ ในบทความนี้ ได้ถูกเขียนเป็น เว็บไซท์ ไม่ได้เขียนผิดนะคะ แต่ขณะนี้ ได้เปลี่ยนให้ ไซต์ เขียนเป็น ไซท์ แบบนี้ค่ะ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการค่ะ

ลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ กันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น